ตลาดเก้าห้อง 100 ปี
รูปภาพที่ 47 ตลาดเก้าห้อง 100 ปี
ตลาดเก่าริมแม่น้ำ
รูปแบบที่กำลังสูญหาย หรือคงอยู่ เรือนไม้ปลูกติดต่อกัน เรียงเป็นแถวยาว
เรือนที่ในอดีตใช้เป็นที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า สถานที่ค้าขายของชุมชนไทย-จีน
วันเวลาผ่านกว่า 100 ปี
หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป เรือนไม้เริ่มผุพัง ชีวิตต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
วิถีชีวิตในบ้านไม้หลังเก่า เริ่มเลือนหายไป... วันนี้
...รูปแบบและวิถีชีวิตเหล่านั้น มีโอกาสที่จะย้อนกลับมา จะด้วยกระแส
หรือความรู้สึกที่เรียกร้องวันเวลาเก่าๆก็ตามที แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะได้รับ....
คือบันทึกของประวัติศาสตร์ เป็นบันทึกที่มีชีวิต เต็มไปด้วยเรื่องราว สีสัน และฉากหลังที่สวยงาม
และจะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่เราทุกคนช่วยกันสร้างขึ้น
ตลาดเก้าห้อง
เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี
สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่
ในเขตเทศบาลตำบล บางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
จากเอกสารที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติตลาดเก้าห้อง และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ
คำว่า ”ตลาดเก้าห้อง” น่าจะนำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง
ซึ่งเป็นบ้านโบราณมีประวัติสืบทอดมายาวนาน ตลาดเก้าห้องเล่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวจีนคนหนึ่งชื่อ
“นายฮง“ อพยพมาจากกรุงเทพฯ มาทำมา
ค้าขายอยู่บริเวณละแวกบ้านเก้าห้อง กิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว พ.ศ. 2424 ได้แต่งงานกับ “นางแพ” ซึ่งเป็นหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แห่งบ้านเก้าห้อง
และได้ประกอบอาชีพค้าขายที่แพซึ่งสร้างขึ้นไว้ 1 หลัง
จอดอยู่ริมน้ำหน้าบ้านเก้าห้อง
ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านค้าขายที่มีเรือนแพขายของสองฝั่งแม่น้ำ นายฮง
หรือที่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “เจ๊ก-รอด” ทำการค้าขายสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะเครื่องบวช เครื่องมืออุปกรณ์ทำนาและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลายจนร่ำรวยและรู้จักกันในนามต่อมาว่า
“นายบุญรอด เหลียงพานิช”
หอดูโจร
ในตลาดเก้าห้อง เป็นหอที่ก่ออิฐถือปูนกว้าง 3x3 เมตร สูงราว 4 ตึก 4
ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477 ชั้นบนเป็นดาดฟ้า
แต่ละชั้นฝาผนังเจาะรูโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว
เมื่อขึ้นไปบนยอดสุดจะมองเห็นทัศนียภาพ
ทั้งทางบกและทางน้ำของตลาดเก้าห้องได้ทั้งหมด
เหตุที่สร้างป้อมขึ้นมาเพราะในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า “เสือ” หลายคนออกปล้นฆ่าตามริมน้ำท่าจีนเสมอ
จึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลายด้วย
ถ้าเสือมาคนจะขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆเอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู้กับเสือที่มาปล้น ลักษณะของบ้านที่เรียกว่า “บ้านเก้าห้อง” บ้านเก้าห้องของขุนกำแหงในส่วนที่เป็นบริเวณเรือนหลักดั้งเดิมซึ่งยังคงลักษณะเดิมอยู่ในปัจจุบัน
เป็นบ้านแบบเรือนไทยไม้สักหลังคาทรงจั่วปั้นหยา ใต้ถุนสูง ขนาดกว้างรวม ๗.๗๕ เมตร (ส่วนกว้างนี้แบ่งเป็น ๒
ระดับๆ แรกกว้าง ๕ เมตร เป็นส่วนภายในของเรือนสำหรับการพักอาศัย
และระดับที่สองเป็นส่วนระเบียงของบ้านต่ำกว่าระดับแรกประมาณ ๓๐
เซนติเมตรกว้างประมาณ ๒.๗๕ เมตร) และยาว ๒๐.๕๐ เมตร
โดยความยาวของบ้านขนานกับแม่น้ำท่าจีน และหันหน้าบ้านไปทางแม่น้ำ
แนวความยาวของบ้านมีเสาบ้านเรียงอยู่ ๑๐ แถว ซึ่งแนวเสา ๒ แถวจะถือว่าเป็น ๑
ช่องเสาหรือ ๑ ห้อง (ห้องหนึ่งกว้างประมาณ ๒.๒๕ เมตร) ถ้ามีแนวเสา ๔ แถว
จะเรียกว่า บ้านมี ๓ ช่องเสาหรือ ๓ ห้อง ดังนั้น บ้านที่มีแนวเสา ๑๐ แถว
จึงเรียกว่าบ้านมี ๙ ช่องเสา หรือบ้าน ๙ ห้อง ดังนั้น
บ้านเรือนไทยหลังที่ขุนกำแหงสร้างดังกล่าวมีเสา ๑๐ แถว จะมี ๙ ช่องเสา จึงเรียกชื่อว่า
“บ้านเก้าห้อง” (ซึ่งไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีการปลูกสร้างบ้านเรือนที่มีความยาวลักษณะนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ใดบ้าง)
ด้วยเหตุผลข้างต้นน่าจะช่วยสร้างความเข้าใจได้ว่าที่เรียกว่า ”บ้านเก้าห้อง” นั้นมิใช่เพราะภายในบ้านมีการแบ่งเป็นห้องๆถึง
๙ ห้องแต่ประการใด
อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์
อยู่ที่
ตำบลบ้านแหลม ห่างจากจังหวัดประมาณ 17 กม. บริเวณหน้าวัดมีฝูงปลาโดยเฉพาะ ปลายสวาย ปลานิล เป็นจำนวนมาก
นักท่องเที่ยวสามารถยืนชมและให้อาหารปลาได้อย่างใกล้ชิด
บริเวณริมแม่น้ำซึ่งทางวัดก่อสร้างเป็นเขื่อนทางเท้าริมน้ำ ยาวประมาณ 100 เมตร เป็นอุทยานมัจฉา อีกแห่งหนึ่งของจังหวัด
รูปภาพที่ 49 อุทยานมัจฉาวัดป่าพฤกษ์
ขอขอบคุณ
http://www.suphan.biz/Kaohong.htm
http://www.suphan.biz/wadpapurk.htm
https://www.youtube.com/watch?v=GgyF702Dwf0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น