ประวัติอำเภอศรีประจันต์
ปรากฏเป็นหลักฐานแพร่หลายครั้งแรกในหนังสือ การประชุมพุทธศาสนสมาคมแห่ง
ประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๔-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ มีข้อความตอน
หนึ่งว่า “เดิมเขตท้องที่อำเภอศรีประจันนี้ขึ้นกับอำเภอท่าพี่เลี้ยง (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี) และของ
อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) แต่อำเภอท่าพี่เลี้ยงและอำเภอนางบวชมีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินไป
ราษฎร์ไปมาลำบาก ทางราชการจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอท่าพี่เลี้ยงตอนเหนือและแบ่งท้องที่อำเภอ
นาง
บวชตอนใต้มารวมตั้งอำเภอขึ้นอีกอำเภอหนึ่ง รวมเรียกว่าอำเภอศรีประจัน โดยยืมชื่อนางศรีประจันต์
แม่ยายขุนแผนในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งน่าจะมีภูมิลำเนาในเขตท้องที่ที่ตั้งเป็นอำเภอใหม่
นี้ อำเภอศรีประจันต์ ได้ตั้งเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔ และแบ่งการปกครองออกเป็น ๒๒
ตำบล “ข้อความนี้ได้ถูกนำมาอ้างอิงหนังสืออื่น ๆ อีกมาก เช่น หนังสือ “ประวัติมหาดไทยส่วน
ภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๒๘” ก็กล่าวว่า“ตั้งเป็นอำเภอศรีประจันต์โดยใช้ชื่อตัวละครใน
วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตัวนางศรีประจัน ซึ่งน่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่นี้ อำเภอศรีประจันต์
ตั้งขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔”
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เชื่อถืออ้างอิงกันต่อ ๆ มา โดยมิได้ตรวจสอบความถูกต้องจากหลักฐาน
และเอกสารชั้นต้น ทำให้เข้าใจผิดกันตลอดมาว่าอำเภอศรีประจันต์ตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ หรือ ร.ศ.
๑๒๐ และชื่ออำเภอนี้ได้มาจากชื่อนางศรีประจันต์ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ทั้งยังเข้าใจผิดเลย
เถิดไปอีกว่านางศรีประจันต์มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอศรีประจันต์ ปกติการตั้งอำเภอหรือสถานที่สำคัญ
จะมีบันทึกเป็นเอกสารชั้นต้นอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จนกระทั่ง นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล ปลัด
อำเภอศรีประจันต์ ได้ติดต่อขอหลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี
เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ถ่ายสำเนาเอกสารเกี่ยว
กับการตั้งอำเภอศรีประจันได้ ๔ ฉบับ จากเอกสาร ๔ ฉบับนี้ ได้ข้อสรุปว่าอำเภอศรีประจัน ตั้งเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๔๕ หรือ ร.ศ. ๑๒๑ ทีแรกชื่ออำเภอ “สีจัน” แล้วจึงเปลี่ยนเป็น “ศรีปะจันต์” ต่อมา จึงกลาย
เป็น “ศรีประจันต์”
ประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๔-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ มีข้อความตอน
หนึ่งว่า “เดิมเขตท้องที่อำเภอศรีประจันนี้ขึ้นกับอำเภอท่าพี่เลี้ยง (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี) และของ
อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) แต่อำเภอท่าพี่เลี้ยงและอำเภอนางบวชมีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินไป
ราษฎร์ไปมาลำบาก ทางราชการจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอท่าพี่เลี้ยงตอนเหนือและแบ่งท้องที่อำเภอ
นาง
บวชตอนใต้มารวมตั้งอำเภอขึ้นอีกอำเภอหนึ่ง รวมเรียกว่าอำเภอศรีประจัน โดยยืมชื่อนางศรีประจันต์
แม่ยายขุนแผนในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งน่าจะมีภูมิลำเนาในเขตท้องที่ที่ตั้งเป็นอำเภอใหม่
นี้ อำเภอศรีประจันต์ ได้ตั้งเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔ และแบ่งการปกครองออกเป็น ๒๒
ตำบล “ข้อความนี้ได้ถูกนำมาอ้างอิงหนังสืออื่น ๆ อีกมาก เช่น หนังสือ “ประวัติมหาดไทยส่วน
ภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๒๘” ก็กล่าวว่า“ตั้งเป็นอำเภอศรีประจันต์โดยใช้ชื่อตัวละครใน
วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตัวนางศรีประจัน ซึ่งน่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่นี้ อำเภอศรีประจันต์
ตั้งขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๔”
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เชื่อถืออ้างอิงกันต่อ ๆ มา โดยมิได้ตรวจสอบความถูกต้องจากหลักฐาน
และเอกสารชั้นต้น ทำให้เข้าใจผิดกันตลอดมาว่าอำเภอศรีประจันต์ตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ หรือ ร.ศ.
๑๒๐ และชื่ออำเภอนี้ได้มาจากชื่อนางศรีประจันต์ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ทั้งยังเข้าใจผิดเลย
เถิดไปอีกว่านางศรีประจันต์มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอศรีประจันต์ ปกติการตั้งอำเภอหรือสถานที่สำคัญ
จะมีบันทึกเป็นเอกสารชั้นต้นอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จนกระทั่ง นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล ปลัด
อำเภอศรีประจันต์ ได้ติดต่อขอหลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี
เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ถ่ายสำเนาเอกสารเกี่ยว
กับการตั้งอำเภอศรีประจันได้ ๔ ฉบับ จากเอกสาร ๔ ฉบับนี้ ได้ข้อสรุปว่าอำเภอศรีประจัน ตั้งเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๔๕ หรือ ร.ศ. ๑๒๑ ทีแรกชื่ออำเภอ “สีจัน” แล้วจึงเปลี่ยนเป็น “ศรีปะจันต์” ต่อมา จึงกลาย
เป็น “ศรีประจันต์”
ขอขอบคุณ
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://r01.ldd.go.th/spb/download/DinThai53/MAIN/SP/SP_02.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น