อำเภอเมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในอดีตจะเห็นได้จากซากกำแพงเมืองที่ยัง
เหลืออยู่ เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนในเขตตำบลรั้วใหญ่เรียกชื่อเดิมว่า " ศาลแขวง
ท่าพี่เลี้ยง" ต่อมาย้ายไปตั้งตำบลท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนบริเวณวัดเจดีย์ยอด
เหล็ก (ที่ตั้งธนาคารกรุงเทพจำกัดในปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า "อำเภอท่าพี่เลี้ยง" ตามชื่อเรียกของ
ตำบล "ท่าพี่เลี้ยง" มีความหมายตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เล่าต่อกันมาตามตำนานเรื่องขุนช้าง
ขุนแผนว่า ตำบลท่าพี่เลี้ยงนี้เดิมเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของนางสายทองผู้เป็นพี่เลี้ยงของนางพิมพิลา
ไลย ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงท่าน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอ ประชาชนจึงพากันเรียกว่า "บ้านท่าพี่
เลี้ยง" หรืออีกนัยหนึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าการเรียกคำว่า “ท่าพี่เลี้ยง” สืบเนื่องมาจาก เหตุที่เมือง
สุพรรณบุรีเป็นเมืองสะสมเสบียงอาหารส่งไปกรุงศรีอยุธยาในระหว่างทำสงครามกับพม่าในสมัย
นั้น ตำบลท่าพี่เลี้ยงเป็นที่ตั้งยุ้งฉางข้าว โดยปลูกสร้างยุ้งข้าวไว้เป็นแถวติดต่อไปตั้งแต่วัดสุวรรณภูมิ
ถึงบริเวณตลาดใหม่ของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน) และต้องมีข้าวสำรองเป็นประจำในยุ้ง
ข้าวนั้นทุก ๆ ปี เสมือนหนึ่งเป็นเมืองพี่เลี้ยง ประชาชนจึงเรียกขานว่า "บ้านท่าพี่เลี้ยง" เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางราชการได้สั่งให้อำเภอที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเปลี่ยนชื่อเป็น
อำเภอเมืองทั้งหมด ดังนั้นอำเภอท่าพี่เลี้ยงจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองสุพรรณบุรี" ตั้งแต่นั้น
มาและใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นายอำเภอบรรจง ฤกษ์สำราญ (นายอำเภอสมัยนั้น) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ
เมืองสุพรรณบุรีบริเวณเจดีย์ยอดเหล็กซึ่งคับแคบมาก่อสร้างบริเวณระหว่างศาลแขวงจังหวัด
สุพรรณบุรีและโรงเรียนสงวนหญิง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) ต่อมา
ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ย้ายที่ว่าการมาอยู่บริเวณศาลากลางเก่า ถนนพระพันวษา (เนื่องจากศาลากลางได้
ย้าย ที่ทำการไปอยู่ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย ถนนชัยนาท-บางบัวทอง)
เหลืออยู่ เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนในเขตตำบลรั้วใหญ่เรียกชื่อเดิมว่า " ศาลแขวง
ท่าพี่เลี้ยง" ต่อมาย้ายไปตั้งตำบลท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนบริเวณวัดเจดีย์ยอด
เหล็ก (ที่ตั้งธนาคารกรุงเทพจำกัดในปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า "อำเภอท่าพี่เลี้ยง" ตามชื่อเรียกของ
ตำบล "ท่าพี่เลี้ยง" มีความหมายตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เล่าต่อกันมาตามตำนานเรื่องขุนช้าง
ขุนแผนว่า ตำบลท่าพี่เลี้ยงนี้เดิมเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของนางสายทองผู้เป็นพี่เลี้ยงของนางพิมพิลา
ไลย ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงท่าน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอ ประชาชนจึงพากันเรียกว่า "บ้านท่าพี่
เลี้ยง" หรืออีกนัยหนึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าการเรียกคำว่า “ท่าพี่เลี้ยง” สืบเนื่องมาจาก เหตุที่เมือง
สุพรรณบุรีเป็นเมืองสะสมเสบียงอาหารส่งไปกรุงศรีอยุธยาในระหว่างทำสงครามกับพม่าในสมัย
นั้น ตำบลท่าพี่เลี้ยงเป็นที่ตั้งยุ้งฉางข้าว โดยปลูกสร้างยุ้งข้าวไว้เป็นแถวติดต่อไปตั้งแต่วัดสุวรรณภูมิ
ถึงบริเวณตลาดใหม่ของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน) และต้องมีข้าวสำรองเป็นประจำในยุ้ง
ข้าวนั้นทุก ๆ ปี เสมือนหนึ่งเป็นเมืองพี่เลี้ยง ประชาชนจึงเรียกขานว่า "บ้านท่าพี่เลี้ยง" เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางราชการได้สั่งให้อำเภอที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเปลี่ยนชื่อเป็น
อำเภอเมืองทั้งหมด ดังนั้นอำเภอท่าพี่เลี้ยงจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองสุพรรณบุรี" ตั้งแต่นั้น
มาและใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นายอำเภอบรรจง ฤกษ์สำราญ (นายอำเภอสมัยนั้น) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ
เมืองสุพรรณบุรีบริเวณเจดีย์ยอดเหล็กซึ่งคับแคบมาก่อสร้างบริเวณระหว่างศาลแขวงจังหวัด
สุพรรณบุรีและโรงเรียนสงวนหญิง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) ต่อมา
ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ย้ายที่ว่าการมาอยู่บริเวณศาลากลางเก่า ถนนพระพันวษา (เนื่องจากศาลากลางได้
ย้าย ที่ทำการไปอยู่ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย ถนนชัยนาท-บางบัวทอง)
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://r01.ldd.go.th/spb/download/DinThai53/MAIN/SP/SP_02.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น