วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมือง

      อำเภอเมือง
      วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

รูปภาพที่ 50 วัดป่าเลไลยก์

          เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
          ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย


ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน

รูปภาพที่ 51 วัดป่าเลไลยก์

          รอบๆ วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้ ชมภาพบางส่วนได้ที่ นิทาน ขุนช้าง-ขุนแผน วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทย  คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่  ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

รูปภาพที่ 52 วัดป่าเลไลยก์

เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม เสภาขุนช้างขุนแผน  เมื่อนางทองประศรี พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ
จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโตก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ ทางวัดป่าเลไลยก์ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทย ไม้สัก เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป

อุทยานมังกรสวรรค์
รูปภาพที่ 53 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร




        พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และหมู่บ้านมังกรสวรรค์ มหัศจรรย์งานสร้าง ด้วยแรงเงิน และแรงศัทธา สถานที่รวบรวมเรื่องราวที่มากคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ห้องเรียนที่น่าตื่นตาตื่นใจ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่อาจผ่านเลย
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง เป็นสถานที่ที่สวยงาม ควรค่าแก่การแวะชม
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ มีคนจีนชื่อ เฮียกงเป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมา
     เมื่อครั้งโบราณมีคำกล่าวว่า " ห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณจะทำให้มีอันเป็นไป "
เมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณ ได้ทรงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างศาลเพิ่มขึ้น พร้อมวางแผนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำรัสว่า "เข้าทีดีหนักหนา แต่เขาไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ว่าถ้าขืนไปจะเป็นบ้าไม่ใช่หรือ" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไปมาแล้วไม่เห็นเป็นอะไร ยังรับราชการมาจนบัดนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสสั้นๆว่า "ไปซิ" จากนั้นพระองค์จึงเสด็จมาเมืองสุพรรณ ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 และทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมือง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่บูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมา ข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีน  โดยทั่วไปศาลหลักเมืองนั้นจะทำด้วยไม้ บนยอดจะเป็นหัวเม็ด แต่หลักเมืองของสุพรรณนี้พิเศษกว่าหลักเมืองทั่วไปคือ จะเป็นหินและมีพุทธปฎิมากรอยู่ด้วย
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้องรูปแบบแปลกตาด้วยภาพ แสงสีเสียง และเทคนิกพิเศษ น่าชมเป็นอย่างยิ่ง จีน...เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมยาวนานกว่า 5000 ปี
ตั้งแต่สมัยเสินหนง....เป็นหัวหน้าเผ่าแซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน เป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้ - ค้นคิดยาสมุนไพรชนิดต่างๆ และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนาเข้ามาในยุคโบราณ..สืบกษัตริย์สายพันธุ์มังกร.......ยุค ราชวงค์เซี่ย...ราชวงค์ซาง... ราชวงโจว..จนถึงยุค..เลียดก๊ก ซึ่งมี 7 ก๊กใหญ่ที่ครองอำนาจจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรก ยุค...ราชวงศืฮั่น.....เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรือง และยาวนานที่สุดของชนชาติจีน ยุค..สามก๊ก.......ยุคราชวงศ์..ถัง .....ราชวงศ์หยวน ซึ่งถูกปกครองโดย จักรพรรดิ กุบไลข่าน ซึ่งเป็นชาวแมนจู และเวลาผ่านไป จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็กดขี่ขมเหงชาวจีนอย่างมาก จนเกิดกบฎ จูหยวนจาง(จักรพรรดิหงหวู่) ได้รวบรวม และก่อตั้งราชวงศ์..หมิง ในสมัยราชวงศ์ชิง เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู ปูยี....จักรพรรดิองค์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายชนะ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทนกาลเวลาเดินผ่านมาจนถึงวันนี้...นอกจากความงดงามที่ได้ชมมาแล้ว ยังมีส่วนอื่นๆ อย่าง ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องรับฝากของ จำหน่ายหนังสือ ห้องจำหน่ายของที่ระลึก และห้องเครื่องเล่นสำหรับเด็ก ส่วนบริเวณรอบนอกก็จัดตกแต่งสวยงาม มีรูปปั้น ระฆังยักษ์ และน้ำตกขนาดใหญ่สวยงาม คุ้มค่ากับการแวะเที่ยวชม.... หมู่บ้านมังกรสวรรค์ ตลาดพันปี 
   สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งใหม่ตั้งอยู่ภายในอุทยานมังกรสวรรค์ (ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) และพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร รูปแบบของหมู่บ้านได้จำลอง "เมืองลีเจียง"ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณอายุนับพันปี ที่มีรูปแบบที่สวยงามจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมืองมรดกโลก

รูปภาพที่ 54 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
รูปภาพที่ 55 หอคอยบรรหาร-แจ่มใส


          สวนแห่งความรักกลางใจเมืองสุพรรณ หอคอยสีขาวสะอาดตา ท่ามกลางสวนงามและดอกไม้สีสันสดใส ขับกล่อมด้วยเสียงเพลง และลีลาเริงระบำของน้ำพุแสนสวย ยิ่งในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า แปรเปลี่ยนให้สถานที่แห่งนี้เป็นดุจสวนสวรรค์.....
          โปรแกรมการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ จะจบลงด้วยความประทับใจ กับความงดงามยามค่ำคืน ด้วยแสงไฟและเสียงเพลง ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่จะทำให้ความรักของคุณ สวยงามมากมายกว่าทุกวัน.....
สวนเฉลิมภัทรราชินี หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
          ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75 บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และเรื่องราวน่ารู้ของของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด บริเวณสวนประดับด้วยดอกไม้นานาพันธุ์  สวนปาล์ม สวนน้ำพุ ธารน้ำตก สไลเดอร์ สนามเด็กเล่น เพลิดเพลินกับลีลาของน้ำพุดนตรี ที่โลดเล่นตามจังหวะของดนตรี
สวนเฉลิมภัทรราชินี บนเนื้อที่ 17 สวนสาธารณะที่งดงดงามแห่งนี้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในวโรกาสครบ 60 พระพรรษา
อาคารชั้น1
ชมภาพจิตรกรรมขุนช้างขุนแผน และสินค้าที่ระลึก
อาคารชั้น2
นั่งพักผ่อนสบายๆ กับอาหารว่าง ไอศกรีม และเครื่องดื่ม ชมทิวทัศน์ของบริเวณรอบๆสวน
อาคารขั้น3
จำหน่ายของที่ระลึก และเป็นจุดชมวิวของตัวเมืองสุพรรณบุรี
อาคารชั้น4
ชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ด้วยกล้องส่องทางไกล และชมภาพจิตรกรรมเรื่องราวของ สมเด็จพระนเรศวร และภาพสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี


ขอขอบคุณ

http://www.suphan.biz/Watpalalai.htm
http://www.suphan.biz/tower.htm
http://www.suphan.biz/Dragonsuphan.htm
https://www.youtube.com/watch?v=ehCRXJ3cFyA
https://www.youtube.com/watch?v=g_o6iyqvDbQ
https://www.youtube.com/watch?v=w2HdI8aAbkE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น