ในอดีต..บ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ
และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไป
จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี
นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ
และซื้อของจำเป็นกลับไป
ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437
ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง
และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457 มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร
มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน
อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็น
ดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของ
จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
ได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ
จากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522
ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ
ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ
ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร
พระโพธิสัตว์อวโลกิเต ศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่
รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน
ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่
11 ธันวาคม 2547 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์
ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของ ลุ่มแม่น้ำท่าจีน
ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสามชุก ตลาดสามชุก สังคม
และสภาพวิถีชีวิต ของผู้คนสามชุก มีการแสดงประวัติเจ้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ คือ ท่านขุนจำนงจีนารักษ์
และกล่าวถึงโครงการสามชุกเมืองน่าอยู่ มีการจัดแสดงผลงานศิลปะผ่านภาพวาด
และลายเส้นเกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาคารพิพิธภัณฑ์หลังนี้เดิมเป็นบ้านของ
ขุนจำนง จีนารักษ์ ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย 2 ลักษณะเป็นอาคารไม้สามชั้น
สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 2459 อายุกว่า 90 ปี มาแล้ว นางเคี่ยวยี่
จีนารักษ์ ทายาทคนปัจจุบัน ได้อนุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก
ปรับปรุงบ้านจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่น
และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
ปัจจุบัน... ด้วยความร่วมมือกันของชุมชน
ทำให้ตลาดสามชุก เป็นตลาดโบราณที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
และเป็นต้นแบบให้กับอีกหลายๆตลาดที่มีอายุเก่าแก่ ได้กลับมาค้าขายกันเช่นอดีต
โดยปรับปรุงดูแล และยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมเมื่อนับร้อยปี จนกระทั้งปี พ.ศ. 2552ชุมชนสามชุกตลาดร้อยปี
ได้รับ
รางวัลมรดกโลก
ประเภทอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียแปซิฟิก
จากองค์การยูเนสโกซึ่งเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่า เป็นความภาคภูมิใจของชาวสามชุก
ชาวสุพรรณ และชาวไทยทุกคน
รูปภาพที่ 33 สามชุกตลาด 100 ปี
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร
(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
รูปภาพที่ 38 ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง
ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ได้กำหนดจัดงานท่องเที่ยวขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุพรรณบุรี
และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้มีกำหนดการจัดงานดังนี้ ปฏิทินท่องเที่ยวหลักของศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง
ปี 2559
รูปภาพที่ 39 ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง
1 - 31 มกราคม 2559
งานเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร
(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ. สุพรรณบุรี หรือ “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี”
ได้กำหนดงานจัดในวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม
ภายในงานพบกับไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวหลากหลายสีสันและหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ลิลลี่
แกลดิโอลัส (ดอกคำมั่นสัญญา) พิทูเนีย แพงพวย กุหลาบนางฟ้า บีโกเนีย
หน้าวัวสายพันธุ์ต่างประเทศ และเลือกชิมลูกสตรอเบอรี่สดๆ
จากสวนสวรรค์สุพรรณบุรีที่แรกและที่เดียวในภาคกลางที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้สำเร็จ
นอกจากนี้ภายในงานยังพบกับ การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน
พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปปลูกกันอีกด้วย
รูปภาพที่ 40 ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง
1-28 กุมภาพันธ์ 2559
งานกุมภาสัญญารัก
ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ.สุพรรณบุรี
เริ่มจัดงานในวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์
บริเวณงานพบกับสวนกุหลาบสายพันธุ์ วาเลนไทน์ จัดรูปแบบสวนสไตล์แวร์ซายน์
(รูปทรงเรขาคณิต) ออกดอกสีแดงชูช่อบานสะพรั่งเพื่อต้อนรับกับเทศกาลวันแห่งความรัก
และในวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ ยังได้มีการจัดพิธีมงคลสมรสหมู่
จดทะเบียนสมรสหมู่ ณ บริเวณสวนกุหลาบสวนสไตล์แวร์ซายน์ ภายในงานยังพบกับ
การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน
พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเลือกชมอีกด้วย
1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2559
1- 30 มิถุนายน 2559
คำว่า “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี” คือสมญานามที่นักท่องเที่ยวตั้งให้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร
(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) คือชื่ออย่างเป็นทางการ
เป็นหน่วยงานของรัฐ
มีหน้าที่ส่งเสริมการเพราะปลูกของเกษตรกร โดยการขยายพันธุ์ต้นกล้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโรงเรือน
ด้วยการใช้เนื้อเยื่อ และแจกจ่ายหรือจำหน่ายให้เกษตรกร
และเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้ กับผู้ที่สนใจ และศึกษาค้นคว้าพันธุ์พืชใหม่ๆ
สถานที่น่าสนใจภายในศูนย์ ทิวทัศน์โดยรอบจะประดับด้วยพรรณไม้ต่างๆ ทั้งไม้ดอก
ไม้ใบ ไม้ผล มีห้องอาหารที่ตกแต่งไว้สวยงาม ด้านหลังมีสระน้ำ
ที่ประดับด้วยบัววิกตอเรีย
โรงเรือนเพาะพันธุ์ต้นกล้าพันธุ์ไม้จากเนื้อเยื้อ
โรงเรือนขนาดใหญ่ สำหรับจำหน่ายต้นไม้ ทั้งไม้ดอก ไม้ผล ในราคาถูก
และในส่วนพื้นที่ว่างนับร้อยไร่ ก็จะเป็นบริเวณ ทุ่งทานตะวัน ในช่วงวันพ่อแห่งชาติ
ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนโดยจะบานสะพรั่งสวยงามที่สุดราวๆ วันที่ 5
ธันวาคม ของทุกปี และในช่วงเดียวกัน ภายในสวนสวรรค์แห่งนี้
ยังงดงามด้วย ดอกไม้เมืองหนาว นานาพันธุ์ และที่พลาดชมไม่ได้ ดอกทิวลิป หลากสีสัน
ที่จะบานพร้อมกันในช่วงปีใหม่ และช่วงวันแม่แห่งชาติ ก็จะพบกับสีชมพูแสนหวานของ ทุ่งดอกกระเจียว ที่จะแบ่งบานอวดโฉมกันตลอดเดือนสิงหาคม เป็นอีกสถานที่ที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะท่านที่รักต้นไม้ก็ไม่น่าจะพลาดชม
วัดไผ่โรงวัว
รูปภาพที่ 45 วัดไผ่โรงวัว
มีคำกล่าวเตือนไม่ให้ทำในสิ่งไม่ดี ไม่เช่นนั้นตายไปจะเป็น
"เปรตวัดไผ่" ในสมัยเด็กก็ไม่เคยเห็นเปรต แต่ก็กลัว ตอนหลังได้มาเห็นเปรตที่วัดไผ่
ยิ่งทำให้กลัวการทำบาปมากขึ้น เปรต รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลองมาชมดู
วัดไผ่โรงวัว
สมัยก่อนเป็นวัดที่ใครๆที่มาสุพรรณ ต้องแวะกราบใหว้ และชมความสวยงาม
ใหญ่โตของพุทธศิลปะ ต่อมาการจัดการภายในไม่ดี ทำให้วัดเริ่มไม่มีระบบระเบียบ
เป็นภาพที่ไม่สวยงามกับผู้มาพบเห็น แต่ปัจจุบันได้มีการจัดระบบภายในวัด
ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้วัดเริ่มกลับมาสวยงาม เหมือนเดิม ถึงจะไม่ 100% แต่ก็นับว่าพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 43 กิโลเมตร
หรือจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร
ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว
วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม
ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง
17 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม
2512
ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่ “สังเวชนียสถาน
4 ตำบล” คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้า
ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ
รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก
“พระกะกุสันโธ” พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
“ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก
“พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
อีกมากมาย
ตลาดเก้าห้อง 100 ปี
รูปภาพที่ 47 ตลาดเก้าห้อง 100 ปี
ตลาดเก่าริมแม่น้ำ
รูปแบบที่กำลังสูญหาย หรือคงอยู่ เรือนไม้ปลูกติดต่อกัน เรียงเป็นแถวยาว
เรือนที่ในอดีตใช้เป็นที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า สถานที่ค้าขายของชุมชนไทย-จีน
วันเวลาผ่านกว่า 100 ปี
หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป เรือนไม้เริ่มผุพัง ชีวิตต้องการความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
วิถีชีวิตในบ้านไม้หลังเก่า เริ่มเลือนหายไป... วันนี้
...รูปแบบและวิถีชีวิตเหล่านั้น มีโอกาสที่จะย้อนกลับมา จะด้วยกระแส
หรือความรู้สึกที่เรียกร้องวันเวลาเก่าๆก็ตามที แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะได้รับ....
คือบันทึกของประวัติศาสตร์ เป็นบันทึกที่มีชีวิต เต็มไปด้วยเรื่องราว สีสัน และฉากหลังที่สวยงาม
และจะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่เราทุกคนช่วยกันสร้างขึ้น
ตลาดเก้าห้อง
เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี
สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่
ในเขตเทศบาลตำบล บางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
จากเอกสารที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติตลาดเก้าห้อง และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ
คำว่า ”ตลาดเก้าห้อง”
น่าจะนำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านโบราณมีประวัติสืบทอดมายาวนาน
ตลาดเก้าห้องเล่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “นายฮง“ อพยพมาจากกรุงเทพฯ มาทำมา
ค้าขายอยู่บริเวณละแวกบ้านเก้าห้อง กิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว พ.ศ. 2424 ได้แต่งงานกับ “นางแพ” ซึ่งเป็นหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แห่งบ้านเก้าห้อง
และได้ประกอบอาชีพค้าขายที่แพซึ่งสร้างขึ้นไว้ 1 หลัง
จอดอยู่ริมน้ำหน้าบ้านเก้าห้อง
ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านค้าขายที่มีเรือนแพขายของสองฝั่งแม่น้ำ นายฮง
หรือที่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “เจ๊ก-รอด” ทำการค้าขายสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะเครื่องบวช
เครื่องมืออุปกรณ์ทำนาและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลายจนร่ำรวยและรู้จักกันในนามต่อมาว่า
“นายบุญรอด เหลียงพานิช”
หอดูโจร ในตลาดเก้าห้อง
เป็นหอที่ก่ออิฐถือปูนกว้าง 3x3 เมตร สูงราว 4 ตึก 4
ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477 ชั้นบนเป็นดาดฟ้า
แต่ละชั้นฝาผนังเจาะรูโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว
เมื่อขึ้นไปบนยอดสุดจะมองเห็นทัศนียภาพ
ทั้งทางบกและทางน้ำของตลาดเก้าห้องได้ทั้งหมด
เหตุที่สร้างป้อมขึ้นมาเพราะในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า “เสือ” หลายคนออกปล้นฆ่าตามริมน้ำท่าจีนเสมอ
จึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลายด้วย
ถ้าเสือมาคนจะขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆเอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู้กับเสือที่มาปล้น ลักษณะของบ้านที่เรียกว่า “บ้านเก้าห้อง” บ้านเก้าห้องของขุนกำแหงในส่วนที่เป็นบริเวณเรือนหลักดั้งเดิมซึ่งยังคงลักษณะเดิมอยู่ในปัจจุบัน
เป็นบ้านแบบเรือนไทยไม้สักหลังคาทรงจั่วปั้นหยา ใต้ถุนสูง ขนาดกว้างรวม ๗.๗๕ เมตร (ส่วนกว้างนี้แบ่งเป็น ๒
ระดับๆ แรกกว้าง ๕ เมตร เป็นส่วนภายในของเรือนสำหรับการพักอาศัย
และระดับที่สองเป็นส่วนระเบียงของบ้านต่ำกว่าระดับแรกประมาณ ๓๐
เซนติเมตรกว้างประมาณ ๒.๗๕ เมตร) และยาว ๒๐.๕๐ เมตร
โดยความยาวของบ้านขนานกับแม่น้ำท่าจีน และหันหน้าบ้านไปทางแม่น้ำ
แนวความยาวของบ้านมีเสาบ้านเรียงอยู่ ๑๐ แถว ซึ่งแนวเสา ๒ แถวจะถือว่าเป็น ๑
ช่องเสาหรือ ๑ ห้อง (ห้องหนึ่งกว้างประมาณ ๒.๒๕ เมตร) ถ้ามีแนวเสา ๔ แถว
จะเรียกว่า บ้านมี ๓ ช่องเสาหรือ ๓ ห้อง ดังนั้น บ้านที่มีแนวเสา ๑๐ แถว
จึงเรียกว่าบ้านมี ๙ ช่องเสา หรือบ้าน ๙ ห้อง ดังนั้น
บ้านเรือนไทยหลังที่ขุนกำแหงสร้างดังกล่าวมีเสา ๑๐ แถว จะมี ๙ ช่องเสา
จึงเรียกชื่อว่า “บ้านเก้าห้อง” (ซึ่งไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีการปลูกสร้างบ้านเรือนที่มีความยาวลักษณะนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ใดบ้าง)
ด้วยเหตุผลข้างต้นน่าจะช่วยสร้างความเข้าใจได้ว่าที่เรียกว่า ”บ้านเก้าห้อง” นั้นมิใช่เพราะภายในบ้านมีการแบ่งเป็นห้องๆถึง
๙ ห้องแต่ประการใด
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
รูปภาพที่ 50 วัดป่าเลไลยก์
เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี
ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ
ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า
...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)
มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่
และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์
ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย
ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน
รูปภาพที่ 51 วัดป่าเลไลยก์
รอบๆ
วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน
ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย
เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้ ชมภาพบางส่วนได้ที่ นิทาน ขุนช้าง-ขุนแผน วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทย
คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่
ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
รูปภาพที่ 52 วัดป่าเลไลยก์
เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง
ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม เสภาขุนช้างขุนแผน เมื่อนางทองประศรี
พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ
จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี
และเมื่อพลายแก้วเติบโตก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม
พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ
ทางวัดป่าเลไลยก์ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และสร้างเรือนขุนช้าง
เป็นเรือนไทย ไม้สัก เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป
อุทยานมังกรสวรรค์
รูปภาพที่ 53 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และหมู่บ้านมังกรสวรรค์ มหัศจรรย์งานสร้าง ด้วยแรงเงิน
และแรงศัทธา สถานที่รวบรวมเรื่องราวที่มากคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ห้องเรียนที่น่าตื่นตาตื่นใจ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่อาจผ่านเลย
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน
เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า
หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข
และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน
ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง เป็นสถานที่ที่สวยงาม
ควรค่าแก่การแวะชม
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ
(Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ
เป็นศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเม็ง อายุประมาณ
1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร
มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ
เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อประมาณ 150
ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ
ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ
มีคนจีนชื่อ เฮียกงเป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมา
เมื่อครั้งโบราณมีคำกล่าวว่า " ห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณจะทำให้มีอันเป็นไป
"
เมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณ ได้ทรงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง
ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างศาลเพิ่มขึ้น
พร้อมวางแผนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ
พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำรัสว่า "เข้าทีดีหนักหนา
แต่เขาไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ว่าถ้าขืนไปจะเป็นบ้าไม่ใช่หรือ"
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงกราบบังคมทูลว่า
ข้าพระพุทธเจ้าไปมาแล้วไม่เห็นเป็นอะไร ยังรับราชการมาจนบัดนี้
พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสสั้นๆว่า "ไปซิ" จากนั้นพระองค์จึงเสด็จมาเมืองสุพรรณ
ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 และทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมือง
และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่บูชา
สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมา ข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีน โดยทั่วไปศาลหลักเมืองนั้นจะทำด้วยไม้
บนยอดจะเป็นหัวเม็ด แต่หลักเมืองของสุพรรณนี้พิเศษกว่าหลักเมืองทั่วไปคือ
จะเป็นหินและมีพุทธปฎิมากรอยู่ด้วย
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539
ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้องรูปแบบแปลกตาด้วยภาพ
แสงสีเสียง และเทคนิกพิเศษ น่าชมเป็นอย่างยิ่ง จีน...เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
และเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมยาวนานกว่า 5000 ปี
ตั้งแต่สมัยเสินหนง....เป็นหัวหน้าเผ่าแซ่เจียง
เมื่อ 5,000 ปี ก่อน เป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้ - ค้นคิดยาสมุนไพรชนิดต่างๆ
และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว
ทำไร่ไถนาเข้ามาในยุคโบราณ..สืบกษัตริย์สายพันธุ์มังกร.......ยุค
ราชวงค์เซี่ย...ราชวงค์ซาง... ราชวงโจว..จนถึงยุค..เลียดก๊ก ซึ่งมี 7 ก๊กใหญ่ที่ครองอำนาจจิ๋นซีฮ่องเต้
เป็นจักรพรรดิองค์แรก ยุค...ราชวงศืฮั่น.....เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรือง
และยาวนานที่สุดของชนชาติจีน ยุค..สามก๊ก.......ยุคราชวงศ์..ถัง .....ราชวงศ์หยวน
ซึ่งถูกปกครองโดย จักรพรรดิ กุบไลข่าน ซึ่งเป็นชาวแมนจู และเวลาผ่านไป
จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็กดขี่ขมเหงชาวจีนอย่างมาก จนเกิดกบฎ
จูหยวนจาง(จักรพรรดิหงหวู่) ได้รวบรวม และก่อตั้งราชวงศ์..หมิง ในสมัยราชวงศ์ชิง
เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู ปูยี....จักรพรรดิองค์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ
ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย
หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ
เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายชนะ
เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน
และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทนกาลเวลาเดินผ่านมาจนถึงวันนี้...นอกจากความงดงามที่ได้ชมมาแล้ว
ยังมีส่วนอื่นๆ อย่าง ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องรับฝากของ จำหน่ายหนังสือ
ห้องจำหน่ายของที่ระลึก และห้องเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
ส่วนบริเวณรอบนอกก็จัดตกแต่งสวยงาม มีรูปปั้น ระฆังยักษ์ และน้ำตกขนาดใหญ่สวยงาม
คุ้มค่ากับการแวะเที่ยวชม.... หมู่บ้านมังกรสวรรค์ ตลาดพันปี
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งใหม่ตั้งอยู่ภายในอุทยานมังกรสวรรค์
(ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) และพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร รูปแบบของหมู่บ้านได้จำลอง
"เมืองลีเจียง"ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณอายุนับพันปี ที่มีรูปแบบที่สวยงามจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมืองมรดกโลก
รูปภาพที่ 54 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร
หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
รูปภาพที่ 55 หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
สวนแห่งความรักกลางใจเมืองสุพรรณ
หอคอยสีขาวสะอาดตา ท่ามกลางสวนงามและดอกไม้สีสันสดใส ขับกล่อมด้วยเสียงเพลง และลีลาเริงระบำของน้ำพุแสนสวย
ยิ่งในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า
แปรเปลี่ยนให้สถานที่แห่งนี้เป็นดุจสวนสวรรค์.....
โปรแกรมการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ
จะจบลงด้วยความประทับใจ กับความงดงามยามค่ำคืน ด้วยแสงไฟและเสียงเพลง ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า
เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่จะทำให้ความรักของคุณ สวยงามมากมายกว่าทุกวัน.....
สวนเฉลิมภัทรราชินี หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี
บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย
มีความสูงถึง 123.25 เมตร มีชั้นสำหรับชมวิวในระดับสูงสุด 78.75
บนหอได้มีการติดตั้งกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้าน มีร้านขายของที่ระลึกและอาหารว่าง
มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี
ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
และเรื่องราวน่ารู้ของของจังหวัดสุพรรณบุรีไว้ทั้งหมด
บริเวณสวนประดับด้วยดอกไม้นานาพันธุ์
สวนปาล์ม สวนน้ำพุ ธารน้ำตก สไลเดอร์ สนามเด็กเล่น
เพลิดเพลินกับลีลาของน้ำพุดนตรี ที่โลดเล่นตามจังหวะของดนตรี
สวนเฉลิมภัทรราชินี บนเนื้อที่ 17
สวนสาธารณะที่งดงดงามแห่งนี้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในวโรกาสครบ 60 พระพรรษา
อาคารชั้น1
ชมภาพจิตรกรรมขุนช้างขุนแผน และสินค้าที่ระลึก
อาคารชั้น2
นั่งพักผ่อนสบายๆ กับอาหารว่าง ไอศกรีม
และเครื่องดื่ม ชมทิวทัศน์ของบริเวณรอบๆสวน
อาคารขั้น3
จำหน่ายของที่ระลึก
และเป็นจุดชมวิวของตัวเมืองสุพรรณบุรี
อาคารชั้น4
ชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดใกล้เคียง ด้วยกล้องส่องทางไกล และชมภาพจิตรกรรมเรื่องราวของ
สมเด็จพระนเรศวร และภาพสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) Buffalo Village
รูปภาพที่ 56 หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
วันและเวลาที่ชีวิตในชนบทได้เปลี่ยนแปลไป
ที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรม มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อรองรับกับความสะดวกสบาย
จนรูปแบบเก่าๆ หาดูได้ยากลงทุกที และบางสิ่งอาจไม่มีใครเคยได้เห็น
และบางสิ่งอาจสูญหายไปจากชีวิต
บ้านควาย...คือสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว
และรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท รูปแบบที่กำลังจะเลือนหายไป
เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาด หากมีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ
ด้วยสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม และ "ควาย"
ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการใข้งาน ที่มีวิถีชีวิตเคียงคู่กับคนสุพรรณโดยตลอดมา....
ควาย....กับ...คน ผูกพันกันมาแต่โบราณ
โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร
จนสามารถพูดได้ว่า.... ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย
ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ
โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย
สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า
และตายตามอายุขัย แต่ปัจจุบัน...หลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่
ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น
ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย...
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นส่วนหนึ่งของภาคกลางที่มีการทำนาอุดมสมบูรณ์มาช้านาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ประมาณ 115 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 -3,800 ปี
มีการขุดพบโบราณวัตถุยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธ์ ยุคเหล็ก
สืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ หรือเดิมเรียกกันว่า “เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ” จังหวัดสุพรรณมีสถานที่น่าสนใจมากมาย อาทิโบราณสถาน อารามหลวง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยและสถานที่เกษตรกรรม
กับการสาธิตการทำนาที่ชาวบ้านดำรงชีพมาแต่ก่อนหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
เป็นสถานที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ได้จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตชาวนาชนบทไทย่ดั้งเดิม
ภาพการทำนาที่ไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัย
พร้อมสัมผัสงานฝีมือและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนาไทยและแบบเรียบง่าย
อาทิเช่น บ้านเรือนไม้แบบเรือนปลายนาเป็นที่อยู่อาศัยของคนที่มีฐานะค่อนข้างยากจน
มีการก่อสร้างแบบเรียบง่าย เรือนศรีประจันต์เป็นบ้านที่สร้างจากไม้แท้หลังค่ามุงจากและกระเบื้องซึ่งเป็นหลังที่สี่และมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าซึ่งถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่ขยายใหญ่สุดและมีฐานะค่อนข้างร่ำรวยหน่อย
และมีอุปกรณ์ต่างที่เก็บไว้ยิ่งน่าศึกษามากยิ่งขึ้น
“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” เป็นสิ่งที่จะขาดไม้ได้ในแถบนี้
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยได้รวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้สำหรับการศึกษาด้านการเกษตรกรรมอย่างพร้อมเพรียง
เพื่อนักเรียน นักศึกษาจะได้ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ ของการทำนา
การทำเกษตรกรรมแบบชาวนาชนบทอย่างเรียบง่าย ๆ โดยร่วมการใช้ควายในการทำนา
ตลาดเก่าศรีประจันต์ บ้านเจ้าคุณ
รูปภาพที่ 57 ตลาดเก่าศรีประจันต์
ตลาดโบราณเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณ
มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี อยู่ในอำเภอศรีประจันต์ รูปแบบ เป็นบ้านเรือนไม้เก่า 2 ชั้น
ที่ยังคงรูปลักษณ์ในอดีต ตลาดแห่งนี้ได้รับรางวัลดีเด่น
ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม ในปี 2551
ตลาดอาจจะไม่คึกคักนัก
แต่ก็จะได้บรรยากาศของตลาดเก่าที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง และยังเป็นฉากสำคัญๆ
ในภาพยนต์และละครดังๆ มากมายหลายเรื่อง เรียกว่าถ้าตามรอยหนังดัง ที่มีฉากย้อนยุค
หรือตลาดเก่าในชนบท ตลาดศรีประจันต์ เป็นตลาดที่เป็นฉากมากที่สุดเลยก็ว่าได้ บ้านท่านเจ้าคุณ
อยู่ในตลาดเก่า ศรีประจันต์ เจ้าคุณ ป.อ.ปยุตโต
เป็นบุคคลที่ได้รับการยอย่อง ให้เป็นกวีทางศาสนาพุทธและเป็นเพชรน้ำเอกของโลก
มีผลงานในการเขียนหนังสือมากมาย อดีตบ้านของท่านเคยเป็นร้านขายผ้า
ซึ่งในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิม
รวมทั้งยังได้เก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อนไว้ให้ชมด้วย
ขอขอบคุณ
http://www.suphan.biz/Phutoeinationalpark.htm
http://www.suphan.biz/bungchawak.htm
http://www.suphan.biz/Samchuk.htm
http://www.suphan.biz/GradenCenter.htm
http://www.suphan.biz/Kaohong.htm
http://www.suphan.biz/WatPairogwour.htm
http://www.suphan.biz/GradenCenter.htm
http://www.suphan.biz/Sriprajun.htm
http://www.suphan.biz/Villagebuffalo.htm
http://www.suphan.biz/Watpalalai.htm
http://www.suphan.biz/tower.htm
http://www.suphan.biz/Dragonsuphan.htm
https://www.youtube.com/watch?v=br5oMnnQQdg
https://www.youtube.com/watch?v=fWdqrQmYKJQ
https://www.youtube.com/watch?v=MBV3sTD5SkM
https://www.youtube.com/watch?v=FUikIn0MYMQ
https://www.youtube.com/watch?v=XO5kuZHKr9A
https://www.youtube.com/watch?v=qh_AKiM-vvg
https://www.youtube.com/watch?v=GgyF702Dwf0
https://www.youtube.com/watch?v=w2HdI8aAbkE
https://www.youtube.com/watch?v=l-ZrHyvx10s
https://www.youtube.com/watch?v=g_o6iyqvDbQ
https://www.youtube.com/watch?v=88ATLEtOKpA
https://www.youtube.com/watch?v=dxda-QFgxoQ
|